คนเราพออายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆ ก็จะเริ่มเสื่อม โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับดวงตาที่ผู้สูงอายุร้อยทั้งร้อยต้องเจอ โดยข้อมูลล่าสุดจากกรมการแพทย์ระบุว่า 5 โรคตาที่พบมากสุดใน สว. ได้แก่
1 สายตายาว
เป็นเรื่องปกติเมื่อมีอายุมากขึ้น ทำให้การมองเห็นภาพในระยะใกล้ไม่ชัดเจน แต่มองไกลได้ปกติ บางคนอาจมีอาการตาพร่าหรือปวดตาร่วมด้วย เกิดจากเลนส์แก้วตาแข็งตัวและการทำงานของกล้ามเนื้อตาลดลง ทำให้ความสามารถในการปรับระยะโฟกัสของสายตาลดลง สามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้แว่นสายตา หรือการผ่าตัดทำเลสิก
2 ต้อกระจก
พบได้บ่อยที่สุด มีสาเหตุจากภาวะเลนส์แก้วตาขุ่นเมื่ออายุมากขึ้น และอาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น การได้รับแสง UV หรือแสงแดดจ้าเป็นประจำ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ยากินและยาหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีภาวะตามัว เห็นภาพซ้อน ตาสู้แสงไม่ได้ อาจมองเห็นภาพเป็นสีเหลือง หรือเห็นแสงกระจายในที่สว่างจ้า
3 ต้อหิน
พบได้น้อยกว่าต้อกระจกแต่อันตรายมากกว่า เกิดจากความดันในลูกตาที่สูงขึ้นจนทำลายประสาทตา ทำให้การมองเห็นแคบลง ตาเริ่มมืดจากด้านข้างเข้ามาตรงกลางเรื่อยๆ จนสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร มักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นต้อหิน ผู้ที่สายตาสั้นมาก หรือมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น เบาหวาน รวมถึงผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา
4 จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม
เกิดจากความเสื่อมของบริเวณจุดภาพชัดที่อยู่ส่วนกลางของจอตา ทำให้มองเห็นส่วนกลางของภาพมัวลงแต่บริเวณรอบข้างยังเห็นได้เป็นปกติ มีสาเหตุจากอายุที่มากขึ้น แสง UV การสูบบุหรี่ และความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจะมีอาการตามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นจุดดำอยู่กลางภาพ และสูญเสียการมองเห็นตรงกลางภาพ
5 เบาหวานขึ้นจอตา
เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติ ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดที่จอตา มักพบในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ รวมถึงผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคไต ภาวะซีด ฯลฯ อาการที่เห็นได้ คือ พบจุดเลือดที่จอตา ตามัว หากปล่อยไว้อาจทำให้ตาบอดได
โรคตา ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น
แม้ว่า #โรคตา ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หากดูแลรักษาตั้งแต่ในระยะแรกและพบแพทย์อย่างต่อเนื่องจะสามารถชะลออาการของโรคได้ แนะนำให้ผู้สูงอายุมาตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง และหากสงสัยว่ามีความผิดปกติที่ดวงตาก็ควรไปพบจักษุแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันโรคลุกลามจนต้องสูญเสียการมองเห็นไปอย่างถาวร
ด้วยความปรารถนาดี จาก สว. คอฟฟี่ พลัส 28 กาแฟเพื่อสุขภาพของคนสูงวัย
☎ โทร ☎ 0-2105-4179
? Line@ ? https://line.me/ti/p/@honorherb
.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สสส